ประวัติ ของ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เวิลด์ แท็กทีม แชมเปียนชิป

เดอะโคลอนส์ (คาร์ลีโตและปรีโม) แชมป์ Unified WWE Tag Team Champions คู่แรก

ใน การขยายแบรนด์ของ WWF ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2002 (ต่อมาเปลี่ยนเป็น WWE ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน) เข็มขัด World Tag Team Championship ดั้งเดิมในขั้นต้นนั้นเป็นเอกสิทธิ์ของค่าย SmackDown และต่อมาได้ไปอยู่ทางค่าย Raw ทำให้ SmackDown ไม่มีเข็มขัดแชมป์แท็กทีม ด้วยเหตุนี้ Stephanie McMahon ผู้จัดการทั่วไปของ SmackDown ในตอนนั้นจึงได้แนะนำเข็มขัด WWE Tag Team Championship และกำหนดให้เป็นของค่าย SmackDown เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2002 เธอกล่าวว่าผู้ชนะเลิศทีมแรกจะมาจากการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์จำนวน 8 ทีมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2002 ทีมของ เคิร์ท แองเกิล และ คริส เบนวา เอาชนะ เรย์ มิสเตริโอ และ เอดจ์ ในศึก No Mercy (2002) ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและได้เป็นแชมป์ WWE Tag Team Champions ทีมแรก[1]

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 SmackDown และ ECW ได้ประกาศข้อตกลงเป็นผลให้เข็มขัดแชมป์มีสิทธิ์แข่งขันและป้องกันได้ทั้งสองค่าย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008 ถึงต้นปี ค.ศ. 2009 WWE Tag Team Champions ในเวลานั้น เดอะโคลอนส์ ทะเลาะกับ World Tag Team Champions ในเวลานั้น จอห์น มอร์ริสัน และ เดอะมิซ ซึ่งส่งผลให้มีการประกาศใน ECW เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2009 ว่าในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 ทั้งสองทีมจะป้องกันเข็มขัดแชมป์จากกันและกัน และทีมที่ชนะจะครองเข็มขัดแชมป์ทั้งสองค่าย[2] เดอะโคลอนส์สามารถเอาชนะมอร์ริสันและมิซไปได้ และทำให้เข็มขัดแชมป์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเป็นที่รู้จักในชื่อ Unified WWE Tag Team Championship[3] การปล้ำป้องกันแชมป์ Unified WWE Tag Team Championship มีได้ทุกค่ายจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ในเดือนนั้น ผู้จัดการทั่วไปที่ไม่ระบุชื่อของ Raw ได้ประกาศว่า World Tag Team Championship จะถูกยกเลิกโดยจะได้รับเข็มขัดแชมป์ชุดใหม่มาแทนที่ ซึ่งถูกนำเสนอต่อแชมป์ในตอนนั้นอย่าง The Hart dynasty โดย Bret Hart WWE Tag Team Championship กลายเป็นแชมป์แท็กทีมเพียงเส้นเดียวใน WWE และป้องกันแชมป์ได้ในทุกค่าย โดยการขยายแบรนด์ครั้งแรกสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2554[4]

ใกล้เคียง

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ดับเบิลยูดับเบิลยูอี สแมคดาวน์ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี รอว์ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เอ็นเอ๊กซ์ที (รายการโทรทัศน์) ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ทัฟ อีนัฟ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี อินเตอร์คอนติเนนทัลแชมเปียนชิพ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ยูไนเต็ดสเตทส์แชมเปียนชิป ดับเบิลยูดับเบิลยูอี แท็กทีม แชมเปียนชิป ดับเบิลยูดับเบิลยูอี แชมเปียนชิป ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เวิลด์ แท็กทีม แชมเปียนชิป

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดับเบิลยูดับเบิลยูอี เวิลด์ แท็กทีม แชมเปียนชิป http://www.wwe.com/inside/titlehistory/wwetag/ http://thewrestlingarchive.net/north-america/wwe/t... http://www.wwe.com/classics/titlehistory/raw-tag-t... http://www.wwe.com/shows/ecw/archive/03172009/ http://www.wwe.com/shows/wrestlemania/25/matches/9... http://bleacherreport.com/articles/1062778-abandon... https://web.archive.org/web/20050727012800/http://... http://www.wwe.com/inside/titlehistory/wwetag/3300... https://web.archive.org/web/20051124054213/http://... http://www.wwe.com/inside/titlehistory/wwetag/3300...